Thursday, May 16, 2013

Translation Sample of Civil Engineering Abstract Translation from English into Thai

Translation Sample of Civil Engineering Abstract Translation from English into Thai 

 
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถสูงสุดในการรับแรงเฉือนของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก คานคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 16 ตัวอย่าง ได้ถูกออกแบบและถูกทดสอบเพื่อหาจุดวิบัติ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ คานคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา และคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ออกแบบด้วยวิธี Strut & Tie Model จากนั้นนำผลความแข็งแรงต่อแรงเฉือนของทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบกันด้วยซอฟต์แวร์ชื่อ StaadPro ตัวแปรหลักของการทดสอบคือ อัตราส่วนช่วงการเฉือนต่อความลึก (2.1 และ 2.9), อัตราส่วนเปอร์เซ็นต์ของเหล็กเสริมรับแรงดึง และ GFRP (0.6% และ 0.9%), และอัตราส่วนเหล็กเสริมรับแรงเฉือน (1.5% และ 0.6%) ผลการทดสอบพบว่าลักษณะการวิบัติของตัวอย่างทั้งหมดเป็นการแอ่นตัวจากปัจจัยที่มีบทบาทสูงคือ ลักษณะของเหล็กเสริมรับแรงเฉือนและอัตราส่วนของเหล็กเสริมรับแรงดึง 

โดยชิ้นตัวอย่างที่มีอัตราส่วนช่วงการเฉือนต่อความลึกกว้างกว่า จะมีระยะห่างระหว่างรอยร้าวจากแรงเฉือนมากกว่าชิ้นตัวอย่างที่มีอัตราส่วนช่วงการเฉือนต่อความลึกที่แคบกว่า และในขณะที่อัตราส่วนช่วงการเฉือนต่อความลึกลดลง ความแข็งแรงต่อแรงเฉือนจะเพิ่มขึ้น ในส่วนของอัตราส่วนเหล็กเสริมรับแรงดึงสามารถสรุปได้ว่า อัตราส่วนเหล็กเสริมรับแรงดึงที่มากขึ้นทำให้เกิดรอยแตกทแยงขนาดเล็กลง และระยะห่างของเหล็กปลอกที่มากขึ้นจะทำให้เกิดรอยแตกทแยงขนาดใหญ่ขึ้น เป็นการยืนยันว่าระยะห่างของเหล็กปลอกมีนัยสำคัญกับระยะห่างระหว่างรอยร้าวจากแรงเฉือน

ABSTRACT
This dissertation presents an experimental investigation on the behavior and
ultimate shear strength of reinforced concrete beam. Sixteen reinforced concrete beams was design and tested to failure. This study consists of two series of beams, which are conventional steel reinforced beams (BSN) and reinforced concrete beams with Strut and Tie Model (STM) using StaadPro software and both result were compared in term of shear strength. The main test variables were shear span-to-depth ratio (2.1 and 2.9), percent of longitudinal reinforcement ratio (tension) steel and GFRP (0.6% and 0.9%), and shear reinforcement ratio (1.5% and 0.6%). The test results revealed that the mode of failure for all beam is flexural with shear reinforcement characteristics and longitudinal reinforcement ratio play a critical role in controlling the mode of failure. 

The experimental approved that the spacing between shear cracks for the specimens with
larger shear span to depth ratio is greater than the smaller shear span to depth ratio and
while the shear span to depth ratio (a/d) decreases, the shear strength increase. For
longitudinal reinforcement ratio it can be inferred that the higher longitudinal
reinforcement ratio brings the smaller diagonal crack. Also, greater stirrup spacing leads to the greater diagonal crack, confirming that there is a significant influence of the stirrup spacing on the spacing between shear cracks. 

Translated by PL Translation Services
English to Thai Translation
Specialized in Civil Engineering Articles

No comments:

Post a Comment