Deadly Fake iPhone Charger Accidents Plague Thrifty Users
ที่ชาร์จไอโฟนปลอม อันตรายถึงชีวิต ภัยที่พึงระวังสำหรับผู้ใช้ที่นิยมความประหยัด
Another day, another fake iPhone charger accident. Unlike last week's incident, which reportedly killed Chinese 23-year-old Ma Ailun, her countryman Wu Jian is still alive but in a coma after his counterfeit iPhone 4 charger gave him a severe shock, causing cardiac arrest and depriving his brain of oxygen.
แล้วก็เป็นอีกครั้งหนึ่งกับอุบัติภัยที่เกิดจากที่ชาร์จไอโฟนปลอม ครั้งนี้อาจจะต่างจากกรณีในสัปดาห์ที่แล้วที่ได้คร่าชีวิต Ma Ailun หญิงชาวจีนวัย 23ปี ตรงที่ชายสัญชาติเดียวกับเธอ Wu Jian ไม่ถึงกับเสียชีวิตแต่ก็อยู่ในอาการโคม่า หลังจากที่ที่ชาร์จ iPhone 4 ปลอมของเขาทำให้เขาเกิดอาการช็อคอย่างรุนแรง เป็นผลให้หัวใจหยุดเต้นและสมองขาดอ็อกซิเจน
These accidents happen all the time, and not just in China. Apple sells its basic name-brand chargers for around $20, at what experts say are very healthy profit margins. Meanwhile there are millions of counterfeits on the market selling for a dollar or two — a black market that thrives in part because the real thing is so expensive.
อุบัติเหตุในลักษณะเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่ที่ประเทศจีน Appleขายที่ชาร์จของแท้ที่ราคาประมาณ 20 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นี่เป็นราคาที่ทำกำไรดีมากๆ ซึ่งในขณะเดียวกันนั้นมีที่ชาร์จปลอมเป็นล้าน ๆ ขายที่ราคาแค่ 1-2 ดอลล่าร์สหรัฐ ยอดขายในตลาดมืดจึงเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยเหตุผลที่ว่า ของแท้มีราคาแพง
These fakes appear virtually identical to the real thing, although a close inspection of the fine print will often turn up text like "Designed by Abble" or "Designed by California" instead of the authentic "Designed by Apple in California." Inside they are shoddily made, with many of the advanced safeguards eliminated to cut costs.
ที่ชาร์จปลอมนั้นมีลักษณะภายนอกเหมือนกับของแท้มากๆ แต่หากสังเกตอย่างละเอียดจะพบว่าตัวพิมพ์มักจะเป็นคำว่า “ Designed by Abble” หรือ “Designed by California” แทนที่จะเป็น “Designed by Apple in California” ตามแบบฉบับของของแท้ ส่วนภายในก็ทำแบบลวก ๆ และตัดอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยขั้นสูงออกไปหลายชิ้นเพื่อที่จะลดต้นทุน
An authentic charger is actually a marvel of modern technology. As blogger Ken Shirriff explains:
ทั้งที่ที่ชาร์จของแท้นั้น แท้จริงแล้วก็เป็นมหัศจรรย์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ชิ้นหนึ่งนี่เอง บล็อกเกอร์ Ken Shirriff ได้อธิบายว่า :
Internally a charger is an amazingly compact switching power supply that efficiently converts line AC into 5 volt DC output. The input AC is first converted to high-voltage DC. The DC is chopped up tens of thousands of times a second and fed into a tiny flyback transformer. The output of the transformer is converted to low-voltage DC, filtered, and provided as the 5 volt output through the USB port. A feedback mechanism regulates the chopping frequency to keep the output voltage stable. Name-brand chargers use a specialized control IC [integrated circuit] to run the charger, while cheap chargers cut corners by replacing the IC with a cheap, low-quality feedback circuit.
ภายในที่ชาร์จจะมีแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบสวิทช์ (Switching power supply) ที่มีขนาดกะทัดรัดมาก ๆ และสามารถที่จะแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ขนาด 5 โวลต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่น่าทึ่ง โดยไฟฟ้ากระแสสลับที่เข้ามาจะถูกแปลงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูงก่อน จากนั้นจะถูกแบ่งย่อยออกเป็นนับหมื่น ๆ ส่วนภายในเวลาชั่ววินาที ก่อนที่จะถูกส่งไปยังหม้อแปลงฟลายแบ็คขนาดจิ๋วเพื่อแปลงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันต่ำ ผ่านการกรองแรงดัน และจ่ายเป็นกระแสไฟฟ้าขนาด 5 โวลต์ไปยังพอร์ต USB ซึ่งหม้อแปลงฟลายแบ็คจะเป็นกลไกที่ใช้ควบคุมความถี่ในวงจรเพื่อให้กระแสไฟที่จ่ายออกมามีแรงดันคงที่ ที่ชาร์จของแท้จะใช้ตัวควบคุมวงจรรวมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับที่ชาร์จ ในขณะที่ของปลอมราคาถูกจะตัดอุปกรณ์ชิ้นนี้ออกไปแล้วแทนที่ด้วยตัววงจรแบบป้อนกลับ (feedback circuit)ที่มีคุณภาพต่ำและราคาถูก
Imitation chargers also don't have the same overrides that prevent short circuits in the event of overheating or a surge in current.
ที่ชาร์จปลอมจะไม่สามารถป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรในกรณีที่มีความร้อนสูงหรือเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ากระชาก
At the very least, cheap chargers may simply not work. More worryingly, they could damage your phone, overheat, or even cause a fire. At the catastrophic end of the spectrum, the charger could expose your body to a deadly dose of electricity. As Sherriff notes, “There’s 340 volts DC inside the charger, which is enough to kill.”
อย่างแย่ที่สุดก็คือที่ชาร์จปลอมใช้งานไม่ได้เลย แต่ที่น่ากังวลกว่านั้นคือมันสามารถทำให้โทรศัพท์เกิดความเสียหาย, มีความร้อนสูง, หรือกระทั่งเกิดไฟลุกไหม้ หรือร้ายแรงถึงขนาดที่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายของคุณในปริมาณที่เป็นอันตรายถึงชีวิต จากข้อมูลของ Sherriff กล่าวว่า “ในที่ชาร์จจะมีไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 340 โวลต์ ซึ่งมากพอที่จะทำให้ตายได้”
Making safer chargers isn’t actually that expensive. Sherriff estimates the iPhone 4 Apple charger he reviewed “has about a dollar’s worth of additional components inside,” compared with a similar Samsung charger that sells for $8-10, but Apple’s costs considerably more. The iPhone’s proprietary plugs also stand out since the rest of the smartphone industry is moving toward standardized chargers.
การจะทำให้ที่ชาร์จมีความปลอดภัยมากขึ้นนั้นไม่ได้แพงอย่างที่คิด Sherriff ประมาณการราคาที่ชาร์จ iPhone4 ที่เค้าได้ทำการรีวิวว่า “อุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาในที่ชาร์จไอโฟนมีมูลค่าประมาณ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ...” เปรียบเทียบกับที่ชาร์จของซัมซุงที่มีโมเดลใกล้เคียงกันซึ่งมีราคาอยู่ที่ 8 – 10 ดอลล่าร์สหรัฐเท่านั้น แต่ Apple จะมีต้นทุนที่สูงกว่ามาก ลิขสิทธิ์ปลั๊กของไอโฟนยังคงโดดเด่นแตกต่างในขณะที่ส่วนที่เหลือของอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนต่างก็มุ่งหน้าสู่ที่ชาร์จที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
Apple has taken steps to make counterfeiting a bit more difficult with the iPhone 5′s new Lightning connector, which has an authentication chip designed to foil imposters. (The Lightning cable is detachable, so it works with older iPhone chargers.) But it only took Chinese knock-off manufacturers a few months to crack the code and start churning out imitation Lightning cables, as Gizmodo reported. They were laughably low-quality—they were even pieced together with masking tape.
Apple ได้ดำเนินการออกแบบพอร์ตการเชื่อมต่อใหม่ที่เรียกว่า Lightning Connector ที่จะทำให้การเลียนแบบเป็นไปได้ยากขึ้นสำหรับ iPhone5 โดยจะมีชิบชนิดพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อขัดขวางการเลียนแบบ (สายเคเบิ้ล Lightning สามารถถอดได้และใช้งานกับที่ชาร์จไอโฟนรุ่นก่อนหน้านี้ได้ด้วย) แต่ดูเหมือนว่าโรงงานผลิตของเลียนแบบในจีนใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนในการแกะรหัสและเริ่มผลิตสายเคเบิ้ล Lightning โดยอ้างอิงจากรายงานของ
Gizmodo เคเบิ้ลเหล่านี้มีคุณภาพที่แย่มาก
แล้วก็ถูกรวบเข้าด้วยกันไว้โดยเทปกาวกระดาษบางๆ เท่านั้น
The Lightning connectors were widely derided as an Apple money grab by users whose old iPhone accessories no longer worked without a $10 adapter, creating a huge potential market for both Apple and its counterfeiters. But with every new death or injury from a fake Apple charger that hits the news, saving a few bucks seems like less of a bargain.
สายเชื่อมต่อ Lightning ถูกล้อเลียนจากผู้ใช้ไอโฟนรุ่นก่อน ๆ ที่อุปกรณ์เสริมไม่สามารถทำงานได้หากว่าไม่มีตัวแปลงราคา 10 ดอลล่าร์สหรัฐนี้ว่ามันคือสินค้าทำเงินของ Apple ดี ๆ นี่เอง ซึ่งด้วยเหตุผลนี้ได้สร้างให้เกิดตลาดที่มีศักยภาพสูงทั้งสำหรับ Apple และผู้ผลิตสินค้าเลียนแบบ แต่ทุกๆ ครั้งที่มีข่าวคนเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากสินค้าปลอม การประหยัดเงินเพียงไม่มากนักก็ดูเหมือนจะไม่น่าสนใจอีกต่อไป
#EnglishToThaiTranslation
by PL Translation Services
No comments:
Post a Comment